วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การขยายพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งโดยการตอนกิ่งแบบง่ายๆ

“ไผ่ตงลืมแล้ง” บางท่านอาจจะนึกภาพไม่ออกว่ามีลักษณะอย่างไร สำหรับไผ่ตงลืมแล้งขณะนี้กำลังได้รับความนิยมจากเกษตรกรที่นำมาปลูกเนื่องจากเป็นพืชตระกูลไผ่ที่มีการออกหน่อตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นหน้าแล้งก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไผ่ตงลืมแล้งเป็นที่นิยมของเกษตรกรที่ทำการปลูกไผ่อยู่ตอนนี้ และไผ่ตงลืมแล้งนั้น เป็นไผ่ที่ได้นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ไผ่ตงลืมแล้ง ต้นสูงได้กว่า 20 เมตร ลำต้นตรง เป็นข้อหรือปล้อง ขนาดของลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา ยอดอ่อน หรือ หน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียว ไม่มีขน หน่อที่โผล่เหนือดินเรียกว่า “หน่อไม้ไผ่ตง” เนื้อในรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5-7 กิโลกรัมต่อหัว มีหน่ออ่อนตลอดทั้งปี ไผ่ตงลืมแล้งจะมีลักษณะเด่น คือ ทนแล้ง น้ำท่วมยังไงก็ไม่ตาย ไม่มีหนามไม่มีขน ออกหน่อตลอดทั้งปี กินน้ำน้อยมาก ที่สำคัญไผ่ตงลืมแล้งจะชอบอากาศร้อนชื้น จะเป็นไผ่ที่ไม่ผลัดใบ ใบไผ่จะเขียวตลอด และหน่อไม้หรือหน่ออ่อนของไผ่ตงลืมแล้งจะมีหน่อยาวใหญ่ มีสีทอง รสชาดดี กรอบ กินดิบได้ เนื้อแน่นละเอียด เวลานำไปแกงหรือต้มก็ไม่ต้องต้มน้ำทิ้งก็ได้ ลักษณะพิเศษของไผ่ตงลืมแล้งอีกอย่างหนึ่งคือ กอของไผ่ตงจะไม่ลอยเหมือนกับไผ่พันธุ์อื่นๆ เวลาออกหน่อจะช้อนลงดินก่อนแล้วค่อนโผล่ขึ้นมา จะออกเป็นหน่อแฝดหรือออกหน่อคู่ และถ้ามีน้ำช่วยหน่อยหน่อไม้ที่ออกมาจะไม่ขม

เกษตรกรจังหวัดลพบุรีปลูกไผ่ตงลืมแล้งที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง คุณทองสุข เหมหอมวงษ์ นั้นเองเกษตรกรจังหวัดลพบุรีปลูกไผ่ตงลืมแล้งที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง คุณทองสุข เหมหอมวงษ์ นั้นเอง

               นายทองสุข  เหมหอมวงษ์ เกษตรกรตำบลโคกตูม  อำเภอเมือง  จังหวัดลพบุรี และมีความเชี่ยวชาญทางด้านการปลูกไผ่ตงลืมแล้งเจ้าแรกของภาคกลางและสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ 
              นายทองสุข กล่าวว่า  เดิมเป็นคนจังหวัดลพบุรี  เมื่อก่อนก็ทำไร่เหมือนคนอื่นๆในแถบนี้ แล้วก็หันมาขับรถรับจ้างทั่วไปพอเก็บเงินได้สักพักช่วงนั้นเศรษฐกิจกำลังดีเลยลงทุนทำร้านขายรถมือสอง  ขายได้ดีและรายได้ก็ดี  แต่พอปี 2540เศรษฐกิจตกต่ำขาดทุนกับการขายรถมือสองไปเยอะแต่ยังเหลือทุนพอประมาน  จึงหันมาทำการเกษตรที่ตนเองคิดว่าถนัดเลยไปซื้อโคขุนมาเลี้ยงจำนวน 50ตัว  ที่เลี้ยงโคขุนเพราะคำแนะนำของเพื่อน พอเลี้ยงไปได้ 6เดือน ก็ขาดทุนอีกครั้ง  จึงได้คิดหาทางออกหลายทาง แต่แล้วก็ทนพิษเศรษฐกิจไม่ไหวจึงได้ปรึกษากับภรรยา  ทางภรรยาก็ให้กำลังใจและให้ตนหยุดพักเสียก่อน  ระหว่างที่หยุดพักนั้นก็ได้มีโอกาสหันมาทำการเกษตรในบริเวณบ้าน  แล้วไปสะดุดเห็นไผ่ตงลืมแล้งที่ได้ซื้อมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านจำนวน 5กิ่ง ครั้งที่ได้ซื้อมานั้นราคากิ่งละ 200บาท ตอนที่ได้ซื้อคนขายแนะนำว่าเป็นไผ่ที่มาจากอินโดนีเซียไม่ค่อยมีคนรู้จัก  จึงได้เอามาปลูกไว้ช่วงที่เลี้ยงโคขุนไปด้วยนั้นเอง  พอมาวันหนึ่งนั่งพักแล้วหันไปมองต้นไผ่เห็นว่าต้นไผ่นี้ทำไมช่วงแล้งๆก็มีหน่อไม้ออกมาทั้งๆที่น้ำก็ไม่มี  จึงได้ลองเอามาปลูก  และขยายพันธุ์จนสำเร็จและมีคนสนใจในที่สุด  นี่คือที่มาของการปลูกไผ่ตงลืมแล้งนั้นเอง

                      พื้นที่การปลูกไผ่ตงลืมแล้งของคุณทองสุขนั้นมีทั้งหมด 13ไร่  โดยได้แบ่งเป็นพื้นที่ 2ที่คือ  บริเวณหลังบ้านจำนวน 2ไร่  และอีกพื้นที่หนึ่งพื้นที่ทั้งหมด 11ไร่  ความยาว 500เมตร  ปลูกไผ่ตงลืมแล้งไว้ทั้งหมด 1,176กอ  โดยปลูกด้วยมือตนเองทุกกอ การปลูกและขยายพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งอย่างจริงจังใช้เวลาผ่านมาแล้ว 3ปี และได้รายได้จากไผ่ตงลืมแล้งนี้กว่าล้านบาท
                    นายทองสุข แนะนำว่า ไผ่ตงลืมแล้งจะมีหน่อออกตลอดทั้ง 365วัน  รับรองว่าใครที่ปลูกไผ่ตงลืมแล้งไว้อยากกินหน่อไม้เมื่อไรก็สามารถเดินไปหลังบ้านแล้วตัดหน่อไม้กินเองได้ หน่อไม้หรือหน่ออ่อนของไผ่ตงลืมแล้งนั้นมีน้ำหนักประมาณ 2กิโลกรัมขึ้นไป  รสชาติดีไม่ขม  เนื้ออ่อน  เห็นหน่อไม้ลำใหญ่ๆแบบนั้นกินได้ตั้งแต่โคนถึงยอดเลย  แล้วที่สำคัญหน่อไม่ไผ่ตงลืมแล้งไม่มีพิษหรือสารเคมีสามารถตัดหน่ออ่อนออกมาก็สามารถชิมได้เลย

การขยายพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งโดยใช้กิ่งแขนงปักชำ
                   กิ่งแขนงของไผ่ก็คือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้ การใช้กิ่งแขนงขยายพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมเพราะสะดวกและง่าย
การคัดเลือกกิ่งแขนงเพื่อทำการปักชำ มีวิธีการคัดเลือกดังนี้
      1.ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1นิ้วขึ้นไป
      2.กิ่งแขนงไผ่ที่เลือกนั้นให้สังเกตุที่รากของกิ่ง  ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว
      3.ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี
ขั้นตอนในการปักชำกิ่งแขนงของไผ่ตงลืมแล้ง
วัสดุ-อุปกรณ์
1.แกลบดำ
2.ถุงเพาะชำ  ขนาด 4x6  จำนวนตามที่ต้องการปักชำกิ่ง
3.กะละมังใส่น้ำไว้แช่กิ่งแขนงไผ่
4.มีด
ขั้นตอนและวิธีการปักชำ
1.เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ จากนั้นตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 80-100เซนติเมตร
2.เตรียมถุงเพาะชำ  โดยใส่แกลบดำให้เต็มถุงปักชำ นำมาเรียงเป็นแถวเพื่อให้สะดวกต่อการปัก
3.นำกิ่งแขนงที่ได้ตัดมานั้น ปักชำลงในถุงเพาะชำที่ได้เตรียมไว้ กดแกลบให้แน่นพอสมควรแล้วรดน้ำ  จากนั้นนำไปวางไว้ใต้ร่มไม้หรือใต้ร่มไผ่ก็ได้ หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
4.หลังจากปักชำแล้วประมาณ 2-3 เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและราก ตั้งตัวได้และมีความแข็งแรง พร้อมที่จะย้ายลงปลูกได้
อ้างอิง  http://www.rakbankerd.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น